เกี่ยวกับสถานศึกษา
ข้อสถานศึกษา 9 ประเภท
ประวัติสถานศึกษา
1. ความเป็นมา
ประวัติของสถานศึกษา
วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เดิมชื่อวิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก ซึ่งกรมอาชีวศึกษาได้ซื้อกิจการ ต่อจากโรงเรียนเอกชนในราคา 6,587,800.- บาท เมื่อปี พ.ศ. 2519 ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยพิษณุโลก และในปี พ.ศ. 2537 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก จนถึงปัจจุบัน วิทยาลัยฯ เปิดการเรียนการสอน 2 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)ปีการศึกษา 2550 วิทยาลัยฯ ได้เปิดสอนหลักสูตรระดับต่าง ๆ ดังนี้
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ประเภทวิชาพาณิชยกรรม
สาขาวิชาพณิชยการ
- สาขางานการบัญชี
- สาขางานการเลขานุการ
- สาขางานการขาย
- สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- สาขางานธุรกิจค้าปลีก (ทวิภาคี)
- สาขาการจัดการโลจิสติกส์
ประเภทวิชาศิลปกรรม
- สาขางานคอมพิวเตอร์กราฟิก
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว
- สาขางานการโรงแรม
- สาขางานการท่องเที่ยว
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ
- สาขาวิชาการบัญชี
- สาขาวิชาการเลขานุการ
- สาขาวิชาการตลาด
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก
- สาขาวิชาการบัญชี (ทวิภาคี)
- สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
- สาขาวิชาการโรงแรมและบริการ
- สาขาวิชาการโรงแรมและบริการ (ทวิภาคี)
ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ขนาดและที่ตั้ง
วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก ตั้งอยู่เลขที่ 410 ถนนพิษณุโลก - บึงพระ ตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 หมายเลขโทรศัพท์ 0-5533-7551 , 0-5533-7553 โทรสาร 0-5533-7553 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ BUNGPHRA_PH@YAHOO.COM เดิมวิทยาลัยฯ มีเนื้อที่ 29 ไร่ 2 งาน 29 ตารางวา ต่อมาได้รับบริจาคที่ดินจากโรงเรียนเซนต์นิโกลาส จังหวัดพิษณุโลก อีก 44 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา จึงมีเนื้อที่ 74 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา
3. สภาพชุมชน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง
วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก เป็นสถานศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ในชุมชนเมือง ตำบลบึงพระ นักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่มาจากต่างถิ่น ต่างอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดพิจิตร จังหวัดสุโขทัย จังหวัดเพชรบูรณ์ วิทยาลัยตั้งอยู่ห่างจากตัวเมือง 4 กิโลเมตร ในบริเวณใกล้เคียงจึงไม่มีสถานที่ราชการ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและมีการศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาภาคบังคับ ชุมชนในบริเวณวิทยาลัยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม มีการบริหารท้องถิ่นโดยองค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ มีวัดพิกุลวนาราม และวัดพระธาตุสันติวันเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในชุมชน
4. สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนาผู้เรียน
มีสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษา ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยรับนักเรียน นักศึกษาเข้าฝึกงาน และประสานงานด้านการเรียนการสอนกับสถานศึกษา ตลอดปี 68 แห่ง
5. จุดเด่นสำคัญของวิทยาลัย
วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ดังนี้
ได้รับรางวัลที่เป็นเกียรติยศแห่งความภาคภูมิใจต่อเนื่องตลอดมาคือ
พ.ศ.2530 รางวัลสถานศึกษาเร่งรัดพัฒนาดีเด่น กลุ่มสถานศึกษาภาคเหนือ กรมอาชีวศึกษา
พ.ศ.2537 รางวัลสถานศึกษาดีเด่นด้านพาณิชยกรรม กรมอาชีวศึกษา
พ.ศ.2539 รางวัลโรงเรียน รางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.2541 รางวัลสถานศึกษาดีเด่นในการรวมใจสู้ภัยเศรษฐกิจ ระดับจังหวัด
พ.ศ.2542 ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา
พ.ศ.2543 ผ่านเกณฑ์การประเมินสถานศึกษา กรมอาชีวศึกษา
พ.ศ.2545 ได้รับการประเมินภายนอกรอบแรกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
พ.ศ.2547 รางวัลสำนักงานน่าอยู่ น่าทำงาน สนองตอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด แบบบูรณาการ จังหวัดพิษณุโลก
พ.ศ.2548 ได้รับคัดเลือกให้จัดทำโครงการรวมพลังเพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน การศึกษาไทย จากศูนย์เครือข่าย สมศ. มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) และมูลนิธิ เพื่อพัฒนาการศึกษาไทย
พ.ศ.2548 ได้รับการประเมินภายนอกรอบที่สอง จากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมิน คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
พ.ศ.2549 ได้รับโล่รางวัลสถานศึกษาที่มีผลดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาดีเด่น จากสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
พ.ศ.2550 ได้รับรางวัลสถานศึกษาดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2550 ด้านการพัฒนาศูนย์กำลังคนจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
พ.ศ.2551 ได้รับโล่เกียรติคุณเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2551 จากกระทรวงศึกษาธิการ